
สวดพระอภิธรรม 2025
Chanting of Abhidhamma

ขอเชิญร่วมสวดพระอธิธรรม ทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนของทุกเดือน
All are welcome to join our Chanting of Adhidhamma 10:30am – 13:00 pm of every first sunday of every month tentatively. Here are schedules for Chanting of Adhidhamma year 2025 – Jan 12th, March 2nd, April 6th, May 4th June 1st, July 6th, Aug 3rd, Sept. 5th-7th, October 5th, November 2nd and December 7st.
12 มกราคม, 2 มีนาคม, 6 เมษายน, 4 พฤษภาคม, 1 มิถุนายน, 6 กรกฎาคม, 3 สิงหาคม, 5-6-7 กันยายน, 5 ตุลาคม, 2 พฤศจิกายน และ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 10:30 – 13:00 น. Visit our Facebook for live morning chant and updates
การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ถือเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีที่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้เป็น พิธึบำเพ็ญกุศลที่เกี่ยวเนื่องกับศพหรือผู้ตาย
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ บทสวดสหัสนัย และบทสวดมนต์แปล (ซึ่งเป็นบทสวดสำหรับวัดที่มีฌาปนสถาน ให้พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่สวดได้ ฝึกหัดแล้วนำไปสวด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมฟังสวดได้เข้าใจในคำสวดมากขึ้น) แต่บทสวดหลักที่ใช้สวดทั่วๆ ไป คือ บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎกเป็นการกล่าวถึงปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันละเอียดลุ่มลึกและประเสริฐกว่าธรรมทั้งหมด ไม่กล่าวพาดพิงถึงสัตว์ บุคคล เหตุการณ์และสถานที่แต่อย่างใด การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังเกิดการเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ที่ทำให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิตที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด
จุดประสงค์ในการสวดอภิธรรม
การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรมนอกจากเป็นการ สืบสานโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้๑. เพื่อธำรงรักษาคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” เพราะเป็นการนำพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาสวด เนื่องจากคำสอนในพระอภิธรรมนั้น ล้วนเป็นคำสอนเพื่อให้คนที่มีชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
๑. เพื่อธำรงรักษาคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” เพราะเป็นการนำพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาสวด เนื่องจากคำสอนในพระอภิธรรมนั้น ล้วนเป็นคำสอนเพื่อให้คนที่มีชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
๒. เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย การทำบุญนั้นมีการบริจาคทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ซึ่งถือว่าผู้ที่มาร่วมงานทุกท่านได้ร่วมกันทำบุญ และร่วมกันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายอีกทั้งเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีด้วย
๓. เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วยการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนพิธีให้มีความมั่นคง
๔. ช่วยเป็นกำลังใจแก่เจ้าภาพ เมื่อคนอันเป็นที่รักหรือคนในครอบครัว ต้องจากไปอย่างไม่มีวันกลับ ย่อมเกิดความเศร้าโศกเสียใจ เมื่อได้เห็นญาติสนิทมิตรสหายบ้านใกล้เรือนเคียงได้แสดงนำ้ใจมาร่วมพิธี ก็สามารถช่วยให้เจ้าภาพคลายทุกข์คลายความโศกเศร้าเสียใจลงได้
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรือ บทสวดพระอภิธรรม ๗ บท ซึ่งเป็นบทสวดพระอภิธรรมที่มี ๗ บทด้วยกัน คือ
บทที่ ๑ บทพระสังคณี หรือ พระธรรมสังคณี เป็นบทที่ว่าด้วยเรื่องกุศล คือ ความดี อกุศล คือ ความไม่ดีหรือความชั่ว และที่เป็นกลางๆ คือ ไม่เป็นทั้งความดีและความชั่ว ที่เรียกว่า อัพยากฤต
บทที่ ๒ บทพระวิภังค์ เป็นบทที่กล่าวถึงการจำแนกส่วนประกอบของชีวิตออกเป็น ๕ ขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
บทที่ ๓ บทพระธาตุกถา เป็นบทที่ว่าด้วยการเข้ากันได้ของธาตุต่างๆ เช่น เยื่อกระดูก เลือด ปัสสาวะ ลมหายใจ ความร้อนในร่างกาย ช่องว่างในปาก ความรู้สึก เป็นต้น
บทที่ ๔ บทพระปุคคลบัญญัติ เป็นบทที่ว่าด้วยการแบ่งประเภทของบุคคล คือ แบ่งตามรูปร่างผิวพรรณ แบ่งตามอวัยวะการรับรู้ แบ่งตามลักษณะธาตุทั้ง ๖ แบ่งตามความเป็นจริง แบ่งตามสิ่งที่เป็นใหญ่ในกาย แบ่งตามคุณธรรมของแต่ละบุคคล
บทที่ ๕ บทพระกถาวัตถุ เป็นบทที่ว่าด้วยการตัดสินข้อขัดแย้ง เพื่อหาสิ่งที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
บทที่ ๖ บทพระยมก เป็นบทที่ว่าด้วยการจัดพวกคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีค้นหามูลเหตุรากเหง้าของเรื่องราวทั้งหลายของพระพุทธเจ้าในฝ่ายดีต่างๆ
บทที่ ๗ บทพระมหาปัฏฐาน เป็นบทที่ว่าด้วยเรื่องปัจจัยในการสนับสนุนของแต่ละเรื่อง เช่น ปัจจัยสนับสนุนจากสิ่งที่เป็นเหตุ ๖ ประการ ปัจจัยสนับสนุนจากสิ่งที่เป็นอารมณ์ ๖ ประการ เป็นต้น
พระอภิธรรม ๗ บท หรือ ๗ คัมภีร์นี้ท่านโบราณจารย์สอนให้ว่า ย่อเฉพาะตัวหน้าเพื่อง่ายแก่การจดจำ ท่านจึงใช้กุศโลบายให้เยาวชนสมัยก่อนท่องจำเป็นคาถาเสกน้ำล้างหน้าตนเองทุกๆ วันตอนเช้า จะเกิด สรรพคุณเป็นสรรพมงคลยิ่งดีนักแล คือ สัง วิ ขา ปุ กะ ยะ ปะ

