Songkran Festival 2020
งานมหาสงกรานต์ ประจำปี 2563
We are sorry to inform you that our Songkran Festival (Thai New Year Celebration) which was scheduled on Sunday April 12, 2020 has been canceled due to an outbreak of Coronavirus (COVID-19). Thank you for understanding the matter. Best regards and take care.
What is Songkran?
Songkran is Thai Tradition New Year base on Thai Luar Calendar which takes place on 13th to 15th of April each year. Songkran is derived from a Sanskrit word means “passing,” “approching,” “change,” or “transformation.”
เทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ปัจจุบันสงกรานต์ตรงกับวันที่ ๑๓,๑๔,และ๑๕ เมษายนของทุกปี ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกัน เพื่อให้ประชาชนที่ทำงานในต่างท้องที่ได้กลับไปยังถิ่นฐานของตน เพื่อร่วมทำบุญ เยี่ยมเยียนบุพการีและสนุกสนานกับครอบครัว เพื่อนฝูง
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “ก้าวขึ้น” หรือ “ผ่าน” หรือ “เคลื่อนย้าย” หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งเข้าไปอีกราศีหนึ่ง เช่น เคลื่อนจากราศีพฤกษภไปสู่ราศีเมถุน ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นทุกเดือน เรียกว่าสงกรานต์เดือน ยกเว้นว่าเมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษเมื่อใดก็ตามก็จะเรียกชื่อเป็นพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” อันหมายถึง การก้าวขึ้นครั้งใหญ่ ซึ่งนับเป็นครั้งสำคัญ เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดยการนับทางสุริยคติ ซึ่งจะตกในราววันที่ ๑๓,๑๔ หรือ ๑๕ เมษายน ซึ่งแต่ละวันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้
วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษอีกครั้ง หลังจากผ่านเข้าสู่ราศีอื่น ๆ แล้วจนครบ ๑๒ เดือน
วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า “วันเนา” แปลว่า วันอยู่ หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เข้าเคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษอันเป็นราศีตั้งต้นปี เข้าที่เข้าทางเรียบร้อยแล้ว
วันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า “วันเถลิงศก” เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ถือเป็นวันเริ่มปีศักราชใหม่ การกำหนดให้อยู่วันนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนมาสู่ราศีเมษแล้วอย่างน้อย ๑ องศา
ทั้งสามวันนี้ ถ้าหากดูตามประกาศสงกรานต์ และการคำนวณตามหลักโหราศาสตร์จริง ๆ ก็จะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง เช่น วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ ๑๔ เมษายน แทนที่จะเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน แต่เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงกำหนดเรียกตามที่กล่าวข้างต้น
How do people celebrate Songkran?
The Thais celebrate in a way of looking for good fortune and a mark of respect to our Buddha, Buddhist monks, parents, elders and friends.
The traditional way of celebrating involves visiting temples and ritual bath the images of Buddha and Buddhist monks, visiting families and pouring water on their parents, elders, and family members, also traveling and gathering along streets and soaking one another, also known as “Water Fight.”
On April 13th, the first day of the festival is an exuberant celebration with processions of Buddha images taking place throughout the country. The Thais also cleaning their houses preparing themselves for the new year.
On April 14th, also known as “Wan Nao,” is when the water throwing really gets going. Throwing water is meant to wash away bad luck from the previous year and looking for a bright year ahead.
On April 15th, the final day of Songkran celebrations, the first day of Thai New Year, people gather at temples to offer food and new robes to Buddhist monks.
All that said, Songkran is the Thailand’s biggest, longest and most famous festival.
ประเพณีวันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ประชาชนจะจัดให้มีกิจกรรมที่ถือ ปฏิบัติเป็นกิจกรรมของชุมชนและสังคม ที่ทุกเพศ ทุกวัย และ ต่างฐานะสามารถสมัครสมานในงานเทศกาลนี้ แสดงออกด้วย ความพร้อมเพรียงในการตระเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือน วัด ความพร้อมใจในการทำบุญให้ทาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อ บรรพบุรุษและบุพการี การสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นรื่นเริง เช่น การเล่นพื้นบ้าน พื้นเมืองต่าง ๆ และสิ่งที่เป็น การเล่น ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของเทศกาลนี้คือ การเล่นสาดน้ำ ของหนุ่มสาวและเด็กด้วยน้ำใจไมตรี
กิจกรรมวันสงกรานต์
1. ทำบุญตักบาตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
2. ปล่อยนกปล่อยปลา คนไทยมีความเชื่อว่าการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าเป็นการล้างบาปบางส่วนที่ตนเป็นผู้ก่อ อีกทั้งทำให้เคราะห์ร้ายที่จะเกิดขึ้นหมดไป
3. ให้ทานแก่ผู้ที่ขัดสน เช่น คนชรา เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น
4. สรงน้ำพระ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ การสรงน้ำพระพุทธรูป และการสรงน้ำพระภิกษุ
5. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ได้แก่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และบุคคลที่มีพระคุณ การรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ ด้วยต้องการขอขมาสิ่งที่อาจจะล่วงเกินผู้ใหญ่ ในบางครั้ง รวมถึงเป็นการขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล และข้อคิดเตือนใจแก่ตนเอง อีกทั้งเพื่อเป็นการแสดง ถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณอีกด้วย การรดน้ำ ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของบุตรหลานที่มีต่อบุพการีหรือญาติผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็น การขอพรจากบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่
6. การละเล่นสาดน้ำ ประเพณีนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์เลยทีเดียว ด้วยงานฉลองวันสงกรานต์นั้นเป็นช่วงฤดูร้อน ประเพณีเริ่มจากการที่มีการสรงน้ำพระ และรดน้ำญาติผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำนั้นนิยมกันในหมู่ของหนุ่มสาว น้ำที่ใช้สาดกันนั้นจะใส่น้ำอบน้ำหอม แต่ในปัจจุบันประเพณีอันดีงามอันนี้ได้จางหายไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ในปัจจุบันมีการสาดน้ำกันอย่างรุนแรง รวมถึงได้มีการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการละเล่นสาดน้ำมากขึ้นด้วย
คุณค่าสาระประเพณีสงกรานต์
การที่สงกรานต์ยังเป็นประเพณีที่ไทยเรายังถือปฏิบัติ และสามารถสืบทอดต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ก็เพราะความหมาย คุณค่า และสาระที่แฝงอยู่ คือ
– คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้เกิดความรักความผูกกกพันในครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัวมาทำบุญร่วมกัน ลูกหลานมารดน้ำขอพรจากพ่อแม่เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่
– คุณค่าต่อชุมชน เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานในชุมชน เช่น การได้มาพบปะสังสรรค์ ทำบุญร่วมกันในวัด ชมการละเล่นสนุกสนาน หรือเล่นสาดน้ำในหมู่เพื่อนฝูง คนรู้จักด้วยมิตรไมตรี
– คุณค่าต่อสังคม เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ของตนให้สะอาดหมดจดเพื่อต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใส เบิกบาน หรือช่วยทำความสะอาดสาธารณสถานต่าง ๆ ไม่ว่าวัดวาอาราม อาคารสถานที่ราชการ เป็นต้น
– คุณค่าต่อศาสนา การทำบุญ ตักบาตรเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ สรงน้ำพระ ปฏิบัติธรรมหรือปล่อยนกปล่อยปลา เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและเป็นการปฏิบัติที่นำความรุ่งเรืองมาสู่ชีวิตทั้งสิ้น